Home » Blog » ค้นหาเพชร (ปลั๊กไฟ) ในตมกัน

ค้นหาเพชร (ปลั๊กไฟ) ในตมกัน

  • by
หลายคนพูดว่าอยากได้ปลั๊กรางไฟที่มีคุณภาพดีมีความทนทาน ทั้งตัวปลั๊กรางไฟเองและอุปกรณ์ที่มาร่วมใช้งานด้วย เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดี ในอดีตอาจจะเทียบได้กับการหาเพชรเลยทีเดียว เพราะจะพบแต่สินค้าที่มีการแข่งขันกันด้านราคา โดยไม่คำนึงถึงด้านคุณภาพในการใช้งาน ยากที่จะหาซื้อได้ ในปัจจุบันเมื่อมีมาตรฐานบังคับ สามารถเลือกซื้อปลั๊กไฟคุณภาพได้ไม่ยาก ปลั๊กไฟเป็นสินค้าลำดับต้นๆที่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำใช้ร่วมด้วย เราต้องดูที่คุณสมบัติความเหมาะสมของปลั๊กไฟกับงานที่เราจะนำไปใช้ และคุณภาพของตัวปลั๊กไฟ มาศึกษากันดูว่า ปลั๊กที่มีคุณภาพดีมีความหมายว่าอย่างไร

1) การเชื่อมต่อระหว่างเต้าเสียบและเต้ารับต้องมีความมั่นคงแข็งแรงตลอดการใช้งาน

2) การเดินสายเชื่อมต่อจุดต่างๆภายในปลั๊กมีความเรียบร้อยและเป็นการเชื่อมต่อกระแสไฟได้อย่างสม่ำเสมอ

3) อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตขึ้นเป็นปลั๊กรางไฟนี้ต้องได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ปลั๊กไฟคือรัยอ่ะ

ถ้าปลั๊กรางไฟได้ออกแบบและผลิตขึ้นโดยการคำนึงถึงหลักทั้งสามประการ ปลั๊กรางไฟนั้นจะทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้ใช้ต้องเลือกปลั๊กรางไฟนั้นให้มีคุณสมบัติตรงกับการใช้งาน เช่นขนาดกระแสไฟหรือจำนวนวัตต์สูงสุดที่จะรองรับได้กับการใช้งานในเวลานั้นๆ ดังนั้นการเลือกซื้อปลั๊กรางไฟจึงมีสองส่วนใหญ่ๆที่ต้องคำนึงคือ ความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ปลั๊กรางไฟว่ามีคุณภาพเช่นเดียวกับที่ผ่านมาตรฐานจริงๆ และเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เรามากล่าวในรายละเอียดในแต่ละส่วนว่ามีปัญหาและวิธีในการเลือกอย่างไรเพื่อลดปัญหานั้นๆ

ปลั๊กไฟหรือชุดสายพ่วง

ปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับปลั๊กไฟที่ชื่อว่า เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง มอก.2432-2555 เป็นมาตรฐานบังคับ วางกรอบมาตรฐานสินค้าไว้ในหลักการทั่วไป ต้องผ่านทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน และผ่านการตรวจสอบ มาตรฐานการผลิต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การผลิตชุดสายพ่วงตัวต่อๆไปจะยังคงมีมาตรฐานเช่นเดียวกับตัวที่ได้ผ่านมาตรฐานจากห้องทดสอบมาแล้ว ในรายละเอียดของมาตรฐาน มอก.2432-2555 ได้วางไว้ให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำมาประกอบกันขึ้นเป็นชุดสายพ่วงต้องมีมาตรฐานกำกับ ดังนี้คือ
1) เต้ารับ มอก.166-2549
2) เต้าเสียบ มอก.166-2549
3) สายไฟ มอก. 11-2553 เล่ม 5-2553
4) สวิทช์ มอก.824-2551 / IEC 61058
5) ตัวตัดกระแสไฟเกิน (เบรกเกอร์) IEC 60934
เมื่อทุกชิ้นที่ได้มาตรฐานนำมาประกอบกันขึ้นเป็นชุดสายพ่วงแล้วจะถูกทดสอบตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 ด้วยวิธีการทดสอบที่ระบุอยู่ใน มอก.2162-2556
เต้ารับและเต้าเสียบ มีมาตรฐาน มอก. ที่ไม่บังคับ มอก. 166 หากแต่เมื่อนำมาประกอบเข้าเป็นชุดสายพ่วงหรือปลั๊กไฟตามมาตรฐานบังคับ มอก. 2432-2555 จึงต้องถูกบังคับให้ต้องผ่านมาตรฐานการทดสอบเช่นเดียวกับ มอก. 166 ด้วยเช่นกัน
สายไฟ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้มาตรฐาน มอก.2432-2555 เป็นมาตรฐานบังคับ ข้อความแจ้งบนปลั๊กไฟที่ขายอยู่ทั่วไประบุว่ามี มอก. นั้น หมายถึงมีเฉพาะสายไฟเท่านั้น เพราะในเวลานั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานใดๆที่เกี่ยวข้องกับปลั๊กไฟเลย ยกเว้นสายไฟ
สวิทช์ ปัจจุบันมาตรฐานที่เกี่ยวกับสวิทช์ คือ มอก.824-2551 เป็นมาตรฐานของสวิทช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันบ้านเรือน โดยที่ชนิดของสวิทช์นี้จะไม่มีไฟไม่ตรงกับชนิดที่ปลั๊กไฟโดยทั่วไปใช้กันอยู่ที่จะมีแสงปรากฎขึ้นเมื่อเปิดสวิทช์ และดับเมื่อปิดสวิทช์ สวิทช์ชนิดนี้จะใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยังไม่มีการทดสอบ จึงใช้การทดสอบในระดับสากลมาใช้ทดแทน นั่นคือ IEC 61058
ตัวตัดกระแสไฟเกิน (เบรกเกอร์) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยังไม่มีการทดสอบ จึงใช้การทดสอบในระดับสากลมาใช้ทดแทน นั่นคือ IEC 60934
เมื่อทุกชิ้นส่วนที่นำมาประกอบได้มาตรฐานครบทุกตัวแล้ว ขั้นต่อไปคือการทดสอบการทำงานโดยรวมของชุดสายพ่วง โดยใช้มาตรฐานการทดสอบ มอก. 2162-2556 เป็นเกณฑ์ทดสอบ

มอก ชุดสายพ่วงทำอะไรให้ปลั๊กไฟจากเดิมเปลี่ยนไป (ในทางที่ดี)

พลาสติก

ข้อแรกที่สำคัญมากคือ พลาสติกที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของชุดสายพ่วงตาม มอก. คือ ต้องไม่ลามหรือติดไฟ ความหมายตามหลักการของพลาสติกประเภทนี้ มีคำที่เรียกกันในวงการพลาสติกว่ามีคุณสมบัติ วีศูนย์ (V-0) ซึ่งจะมีความหมายในด้านการทดสอบว่า เมื่อนำเปลวไฟเข้าสู่เนื้อพลาสติกแล้ว พลาสติกแม้จะลุกติดไฟ แต่เมื่อนำเปลวไฟออก เปลวไฟที่เนื้อพลาสติกจะหยุดทันทีโดยไม่ลามต่อเนื่อง

ม่านนิรภัย

เป็นเสมือนประตูเปิดปิดที่เต้ารับบนปลั๊กไฟ เหตุผลหลักคือด้านความปลอดภัย ในสภาพปรกติสองรูที่เป็น เส้น LINE (L : แอล) และ Neutral (N : เอ็น) ซึ่งปรกติจะเกิดความอันตรายจากการสัมผัสขั้วภายใน ม่านนี้จึงถูกปิดไว้ตลอดเวลา จะเปิดก็ต่อเมื่อเต้าเสียบทั้งสองขาได้เสียบเข้าพร้อมๆกัน กรณีที่เสียบเพียงขาเดียวขาใดขาหนึ่ง ม่านจะยังปิดไว้โดยไม่ยอมให้อะไรเข้าไปสัมผัสขั้วภายในได้ เจตนาเพื่อป้องกันเด็กหรือใครก็ตามที่ไม่ได้ต้องการใช้งานปลั๊กไฟจริงๆด้วยเต้าเสียบ จะไม่สามารถเข้าถึงขั้วภายในได้

เต้ารับที่ได้มาตรฐาน

ส่วนนี้จะเป็นปัญหามากในอดีต การใช้เหล็กเพื่อทำเป็นขั้วเชื่อมต่อกระแสภายใน ธรรมชาติที่ไม่มีความยืดหยุ่น เพียงการเสียบไม่กี่ครั้ง ขาที่ทำหน้าที่บีบรัดให้เกิดการเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอก็กางออกทำให้รัดไม่แน่น การเชื่อมไฟจากเต้ารับบนปลั๊กไฟไปเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่มั่นคงและคงที่ แม้จะใช้เหล็กสปริง จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้มากขึ้นก็ตาม แต่วัสดุเหล็กก็ไม่ได้เหมาะกับการเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้านทานที่สูงกว่า ทองแดงหรือทองเหลือง ทั้งยังอาจเกิดสนิมขึ้นบนตัวเนื้อเหล็กได้อย่างง่ายดาย แม้จะนำไปชุบให้เป็นสีเหลืองทองคล้ายทองเหลืองก็ตาม ยังสามารถสร้างปัญหาให้เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานๆ รูปแบบและขนาดของรูบนเต้ารับบนปลั๊กไฟก็มีความแน่นอนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ต่างจากเดิมที่มากมายหลายแบบ

เต้าเสียบที่ได้มาตรฐาน

ขาบนเต้าเสียบตามมาตรฐานต้องประกอบไปด้วย 3 ขา นั่นคือ LINE (L : แอล) และ Neutral (N : เอ็น) และขาที่สาม คือ Ground (G : กราวด์) โดยที่ขาที่สามนี้ทำหน้าที่ให้กระแสอันเกิดจากความผิดพลาดใดที่มีโอกาสรั่วไปที่ตัวถังหรือส่วนใดๆของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผ้สแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ กระแสที่รั่วนั้นจะต่อให้ลงสายเ

สายไฟ

สายไฟที่เป็นเส้นกลม (VCT) ที่มีฉนวนหุ้มสองชั้น และสายภายในทั้งหมดสามเส้นทำหน้าที่เป็น LINE (L : แอล), Neutral (N : เอ็น) และGround (G : กราวด์) มีขนาดพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดงภายในตั้งแต่ 0.75 ถึง 1.5 Sq.mm (สแควส์มิลลิเมตร) ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปลั๊กไฟว่าคือชนิด 10 แอมป์ (2300 วัตต์) หรือชนิด 16 แอมป์ (3700 วัตต์) และขึ้นอยู่กับความยาวสายที่ใช้ ทั้งนี้มีรายละเอียดกำหนดไว้ในมาตรฐานของชุดสายพ่วง มอก.2432-2555

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *