Home » Blog » หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์ปลั๊กไฟ LUXSA (ให้อะไรที่มากกว่า)

หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์ปลั๊กไฟ LUXSA (ให้อะไรที่มากกว่า)

  • by

ทุกชิ้นส่วนทั้งภายในและภายในนอกได้รับการออกแบบและผลิต โดยวิศวกรไทยที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี มีนวัตกรรมที่นำไปจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับปลั๊กไฟหรือชุดสายพ่วงนี้โดยเฉพาะ เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความปลอดภัย เพื่อความคงทน และเหมาะสมการใช้งานกับเฉพาะกลุ่ม เช่นกลุ่มแม่บ้านใช้งานทั่วไปในที่อยู่อาศัย กลุ่มนักเรียนนักศึกษา คนวัยทำงาน กลุ่มแม่ค้าตลาดนัด กลุ่มผู้สูงอายุและอื่นๆ การคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานเฉพาะกลุ่มต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยการออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะกลุ่ม อีกหนึ่งส่วนที่เป็นจุดเด่นของปลั๊กไฟ LUXSA คือเราให้ความปลอดภัยและความคงทนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหลักการๆต่อเชื่อมภายในที่ปรกติผู้ใช้จะไม่เห็นไม่ทราบ ต่อไปนี้คืออะไร อะไร ที่เราคิดและทำเพื่อผู้บริโภค

เทคนิคการเชื่อมต่อขั้วต่างๆภายในปลั๊กไฟโดยทั่วๆไปมี 3 วิธี 1) บัดกรี 2) บีบรัด 3) ย้ำ

– การบัดกรี เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด หรืออาจเกือบทั้งหมด เนื่องจากง่ายต่อการจัดการ และการประกอบ เพราะคิดว่าจะต่อเชื่อมจากจุดไหนไปยังจุดไหน เพียงแค่หาโลหะอะไรบางอย่างตั้งแต่ลวดทองเหลือง ลวดทองแดง สายไฟ แผ่นทองเหลือง บัดกรีเชื่อม โดยใช้ตะกั่วทำเป็นตัวประสานเข้าหากัน ข้อดี คือง่ายต่อการทำงาน ไม่ต้องออกแบบอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่มีจุดบัดกรีที่เป็นส่วนโลหะ ข้อเสียคือเมื่อใดที่ใช้งานจุดๆนั้นแล้วเกิดความร้อนขึ้นสูง จะทำให้ตะกั่วที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานหลุดออกจากกัน การเชื่อมต่อนั้นก็จะขาดลง กรณีนี้กับการใช้งานปลั๊กไฟ เต้ารับบนปลั๊กไฟจะค่อยๆใช้งานไม่ได้ไปที่ละเต้า แต่ยังไงวิธีนี้ก็มีความจำเป็นต้องใช้ในบางจุดของการประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

– การบีบรัด เป็นวิธีที่ทำให้ต้นทุนการประกอบต่ำได้ แต่ต้องอาศัยการออกแบบให้เป็นจุดที่สามารถบีบเพื่อให้โลหะสองส่วนเขื่อมต่อเข้าหากัน โดยไม่อาศัยตัวเชื่อมประสานแม้แต่ตะกั่ว ข้อดีคือ ประหยัดการใช้ตะกั่ว ข้อเสียคือต้องออกแบบเป็นพิเศษสำหรับงานบีบรัดโดยเฉพาะ และอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ในระยะยาว เนื่องมาจากการเกิดออกไซด์ระหว่างผิวสองด้านที่ต้องการเชื่อมต่อกัน

– การย้ำ เป็นวิธีที่ทำให้ต้นทุนการประกอบต่ำได้ ต้องอาศัยการออกแบบให้จุดตำแหน่งย้ำเพื่อให้โลหะสองส่วนเขื่อมต่อเข้าหากัน โดยไม่อาศัยตัวเชื่อมประสานแม้แต่ตะกั่ว เช่นเดียวกับการบีบรัด ข้อดีคือ ประหยัดการใช้ตะกั่ว ข้อเสียคือต้องออกแบบเป็นพิเศษสำหรับงานบีบรัดโดยเฉพาะ แต่มักจะต่างจากการบีบรัดในกรณีที่มักใช้ตาไก่ช่วยในการย้ำ และอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ในระยะยาวได้เช่นกัน เนื่องมาจากการเกิดออกไซด์ระหว่างผิวสองด้านที่ต้องการเชื่อมต่อกัน

ทั้งสามแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ด้วยวิธีที่ใช้ในปลั๊กไฟของ LUXSA เราจะใช้ควบคู่ 2 เทคนิคร่วมกัน นั่นคือ วิธีบัดกรี และวิธีบีบรัด เพื่อสงวนข้อดีและขจัดข้อเสีย (ในบางกรณีเราก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เพียงเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งเท่านั้น เรามิได้เป็นผู้ผลิตทุกชิ้นส่วนที่นำมาประกอบ ชิ้นส่วนนั้นๆมิได้ออกแบบมาเพื่อการบีบรัดหรือการย้ำ) เมื่อใช้ทั้งสองในบางตำแหน่งที่สามารถทำได้นั้น ต้องอาศัยการออกแบบให้เอื้อต่อการบีบรัด จะช่วยให้มั่นคงและทนทานต่อการใช้งาน เนื่องจากจะไม่หลุดออกจากจุดที่เชื่อมด้วยการบัดกรีอันเกิดจากความร้อนขณะใช้งานปลั๊กไฟ แต่ก็มีปัญหาในการใช้งานระยะยาว อันเนื่องการเกิดออกไซด์บนผิวหน้าสองส่วนโลหะที่บีบรัดเข้าหากันนั้น นี่คือเหตุผลที่ต้องลดโอกาสการเกิดคราบออกไซด์ที่มีผลให้การเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ

การใช้เทคนิคการเชื่อมต่อจุดต่างๆด้วยแผ่นทองเหลืองที่มีขนาดเพียงพอต่อการนำกระแสนั้น ทำให้เกิดโอกาสการสร้างรูปแบบการเชื่อมภายในที่มีรูปแบบ (Pattern) เฉพาะในแต่ละรุ่น การเชื่อมต่อไฟฟ้าภายในจะเป็นระเบียบเรียบร้อย มีข้อดีคือการคงคุณภาพสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชิ้นแรกที่ผ่านการทดสอบจากห้องทดสอบจนถึงชิ้นที่แสนชิ้นที่ล้าน เมื่อเทียบกับการเชื่อมต่อภายในด้วยสายไฟที่มีรูปแบบไม่แน่นอน มากไปกว่านั้นการที่มีรูปแบบของการต่อเชื่อมที่มีมาตรฐานเดียวกันในแต่ละรุ่น ยังเอื้อต่อการพัฒนาในด้านการประกอบที่เป็นอัตโนมัติ มากขึ้น และนี่คือทิศทางการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *